บูรพาจารย์อาวุโสผู้ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา ชุติมา
พระอาจารย์ที่ปรึกษาของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี หัวหน้าแผนกวิชาเคมี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รักษาการอธิการบดี มีส่วนร่วมในการออกแบบ ต่อเติม และ ก่อสร้างตึกเคมี ทั้งห้องปฏิบัติการและห้องบรรยายขนาดใหญ่ เป็นราชบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ
 
  อาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์
ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคพืชและกีฎวิทยา และช่วยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกวิชาท่านแรกของแผนกวิชาโรคพืชและกีฎวิทยาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผลงานที่แพร่หลาย เช่น การเพาะเห็ดฟาง การผลิตไวน์ผลไม้ไทย ผลักดันการก่อสร้างตึกวิจัยโรคพืช ริเริ่มและผลักดันให้เกิดหน่วยงานกักกันพืช จนเกิดพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ กักกันพืช(Plant Quarantine Law)
 
  ศาสตราจารย์จักร โชติศาลิกร
หัวหน้าแผนกวิชาเกษตรศาสตร์ รองคณบดีคณะกสิกรรมและสัตวบาล ผู้พัฒนาและทำงานในด้านการบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี มีส่วนสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับคณะเกษตรและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาโดยตลอด เป็นผู้เข้มงวดในกิริยามารยาทของนิสิต ซึ่งส่งผลดีในการพัฒนาบุคลิกภาพของบัณฑิตเป็นอย่างมาก
 
  ศาสตราจารย์จักร พิชัยรณรงค์สงคราม
เป็นคณบดีและหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ก่อตั้งรื้อฟื้นกิจการของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดระยะเวลา 8 ปี ที่ดำรงตำแหน่งคณบดี ท่านยังดำรงตำแหน่งนายกสัตวแพทยสมาคมฯ ท่านสามารถสร้างภาควิชา กายวิภาคสัตวศาสตร์ในคณะสัตวแพทยศาสตร์ ทั้งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
  ศาสตราจารย์จินดา เทียมเมธ
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการประมง(Fisheries Management) หัวหน้าแผนกวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะประมงคนแรก ที่แต่งตั้งจากการหยั่งเสียงตามระบบสรรหาผู้บริหารใหม่ นักเขียนบทความทางวิชาการประมงที่มีชื่อเสียง บทความที่เขียนมีมากกว่า 70 เรื่อง อาทิ การใช้ปลาเป็นอาหาร ปลาลิ้นหมาร้องไม่ได้, ตัวสงกรานต์ เป็นต้น
 
  ศาสตราจารย์เชื้อ ว่องส่งสาร
รองคณบดีคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา บุคคลสำคัญในการก่อตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรครินเดอร์เปสต์ โดยใช้น้ำเกลือช่วยสกัดไวรัส ซึ่งพัฒนาขึ้นใหม่จนเป็นที่ยอมรับในวงการสัตวแพทย์ ผลิตวัคซีนป้องกันโรครินเดอร์เปสต์ที่เตรียมจากสุกรเป็นคนแรกของโลก
 
  ศาสตราจารย์โชติ สุวัตถิ
ผู้เชี่ยวชาญด้านมีนวิทยา (Ichthyology) คณบดีคณะประมง มีความสามารถวาดภาพปลาในแบบของการวาดภาพทางวิชาการ (Scientific drawing) งานเขียนสำคัญเรื่องปลาเมืองไทย เป็นผลงานค้นคว้ารวบรวมชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อท้องถิ่นของปลาในประเทศไทย จัดจำแนกตามชั้น อันดับ วงศ์สกุล และชนิด ราชบัณฑิตจึงยกย่องให้ท่านเป็นผู้ตรวจคำนิยามในพจนานุกรม
 
   1  |  2  |  3  |  4  |  5  |  6