นามเดิม ทองดี เรศานนท์
วันเกิด ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ จ.นครราชสีมา

การศึกษา

ศึกษาชั้นต้นที่ จ.นครราชสีมา
ศึกษาชั้นมัธยมที่ จ.บุรีรัมย์
ได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนหลวงที่โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จฯ
ศึกษาชั้นอุดมศึกษาที่ แผนกครุศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศฟิลิปปินส์
ได้รับปริญญาเอก (กิตติมศักดิ์) จากมหาวิทยาลัย oregon สหรัฐอเมริกา
ได้รับปริญญากสิกรรมและสัตวบาลดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นิสิตเก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์

การทำงาน

พ.ศ.๒๔๖๐ : รับราชการครูโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวังพระนคร
พ.ศ.๒๔๖๑ : รับราชการครูโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมพระประทน จ.นครปฐม
พ.ศ.๒๔๖๗ : รับราชการครูโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
พ.ศ.๒๔๗๑ : รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ
พ.ศ.๒๔๗๒ : อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมทับกวาง จ.สระบุรี
พ.ศ.๒๔๗๗ : อธิบดีกรมเกษตรและกรมประมง
พ.ศ.๒๔๗๙ : ผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำกรมเกษตรและกรมประมง และผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการกรมเกษตร
พ.ศ.๒๔๘๒ : ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ.๒๔๘๙-๒๕๐๑ : อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชีวิตการครองเรือน

ได้สมรสกับ เสงี่ยม ศรีเพ็ญ ( ธิดาพระเลิศแหล่งตลุง ) มีบุตร ๕ คน คือ
๑. นายพร เรศานนท์
๒. นายแพทย์ถวิล เรศานนท์
๓. นางเพ็ญศรี เอกก้านตรง
๔. นายพงษ์ เรศานนท์
๕. นางสาวเพ็ญพรรณ เรศานนท์

และมีบุตรกับ เลื่อน วัฒนสุข ( ธิดานายฉาก วัฒนสุข ) อีก ๒ คน คือ
๑. นายไพรวรรณ เรศานนท์
๒. นางสาวพรทิพย์ เรศานนท์

ผลงาน

๑. จัดให้มีวันเกษตรเพื่อให้เกษตรกรมาชมงาน และได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งต่อมาเป็นวันเกษตรแห่งชาติ
๒. ส่งเสริมวิทยาการเกษตรสมัยใหม่ โดยการเผยแพร่ความรู้ทางสื่อมวลชนต่างๆ เช่น สาสน์ไก่ วิทยาจารย์ หนังสือพิมพ์พักกสิกร และออกรายการทางวิทยุกระจายเสียง ๓. ริเริ่มให้มีการเลี้ยงไก่เป็นการค้า และสนับสนุนให้ประชาชนบริโภคไข่ดังคำขวัญของท่านว่า "กินไข่วันละฟอง ไม่ต้องไปหาหมอ"
๔. จัดให้มีการสาธิตอาชีพเกษตรในมหาวิทยาลัยเช่นการเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา แพะ วัว กระต่าย ทำสวนผัก สวนผลไม้
๕. ส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงโคนม ทดลองเลี้ยงโคนมและผลิตนมสดที่เรียกว่า "นมเกษตร"
๖. ทดลองเลี้ยงปลาจีนเป็นครั้งแรก
๗. ทดลองปลูกอพืชผักพันธุ์ใหม่ๆ เช่น มะเขือเทศ ถั่วลันเตา บร๊อกเคอรี่
๘. ริเริ่มปลูกพืชอาหารสัตว์เช่น ข้าวโพด ภายหลังได้พัฒนาข้าวโพดขึ้น และใช้ชื่อท่านเป็นชื่อพันธุ์ คือ ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ ๑ สุวรรณ ๒
๙. ทำการเจรจาให้มีสัญญาความช่วยเหลือระหว่างมหาวิทยาลัย oregon กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๑๐. ให้มีการประชุมอาจารย์ช่วงปิดภาคเรียน ฯลฯ

หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ รวมอายุ ๖๗ ปี

ร้อยเรียงอดีตหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ โดย

จอมพลผิน ชุณหะวัณ
พระประกาศสหกรณ์
พระช่วงเกษตรศิลปการ
พลเรือเอกสวัสดิ์ ภูติอนันต์
ศาสตรจารย์อินทรี จันทรสถิตย์
ศาสตราจารย์พนม สมิตานนท์

ที่มา : หนังสืออนุสาวรีย์บูรพาจารย์ สามเสือแห่งเกษตร หน้า ๘-๑๖