![]() |
![]() |
|
![]() |
||
พระประกาศสหกรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ได้เขียนถึงคุณหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจไว้ในคำไว้อาลัยในงานพระราชทานเพลิงศพว่า "คุณหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (สุวรรณ เรศานนท์) และข้าพเจ้าได้เริ่มรู้จักกันมาแต่ พ.ศ. ๒๔๗๗ เมื่อท่านย้ายจากตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคใต้ (คอหงส์) และหัวหน้าสถานีทดลองมาเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมเกษตรและการประมง ในเวลานั้นข้าพเจ้ายัง รับราชการอยู่ที่จังหวัดลพบุรีในตำแหน่งหัวหน้ากองสหกรณ์ภาคกลางแต่ข้าพเจ้ายังรับราชการอยู่ที่จังหวัดลพบุรี ในตำแหน่งหัวหน้ากองสหกรณ์ภาคกลาง แต่ข้าพเจ้าก็ได้เข้ามาราชการที่กรุงเทพฯเป็นครั้งคราว จึงมีโอกาสได้พบคุณหลวงสุวรรณฯ เพราะท่านพักอยู่ที่บ้านในซอยแสงจันทร์ อำเภอยานนาวา ซึ่งอยู่ติดกับบ้านของข้าพเจ้าข้าพเจ้าเห็นทานไปทำงานแต่ ๐๗.๐๐ น. และกลับบ้านค่ำ ๆ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ ข้าพเจ้าได้ย้ายเข้ามารับราชการในกรุงเทพฯ ตำแหน่งอธิบดีกรมสหกรณ์ ข้าพเจ้าจึงมีโอกาสพบปะและคุ้นเคยกับคุณหลวงสุวรรณฯมากยิ่งขึ้นเพราะเราต้องประชุมอธิบดีกรมและประชุม อ.ก.พ. กระทรวงเกษตราธิการด้วยกันบ่อย ๆ ประกอบกับงานสหกรณ์จัดอยู่ในหมู่กสิกร จึงต้องประสานงานกับกรมเกษตรและการประมงอยู่เสมอ คุณหลวงสุวรรณฯ เป็นคนมีนิสัยขยันขันแข็งและเห็นการณ์ไกล ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ ท่านได้เสนอโครงการ ๑๐ ปี ของกรมเกษตรและการประมงต่อกระทรวงเกษตรราธิการ ซึ่งในขณะนั้นนายพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ในโครงการนี้ท่านได้เสนอความคิดเป็นในการขยายงานด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการเกษตรและการประมงตลอดจนงบประมาณไว้ด้วย โครงการนี้ได้ตีพิมพ์ขึ้นเป็นเล่นสมุดขนาด ๑๙๔ หน้า จึงอาจกล่าวได้ว่า คุณหลวงสุวรรณฯ เป็นผู้มีความคิดริเริ่มและเห็นการณ์ไกล ในตอนต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ข้าพเจ้าได้ย้ายจากอธิบดีกรมสหกรณ์มาเป็นปลัดกระทรวงเกษตราธิการได้มีโอกาสปฏิบัติงานติดต่อร่วมกับคุณหลวงสุวรรณฯโดยใกล้ชิด เพราะอยู่ในสังกัดกระทรวงเกี่ยวกันเป็นเวลาถึง ๑๖ ปี จึงได้เพิ่มความคุ้นเคยและสนิทสนมกันยิ่งขึ้น เนื่องจากคุณหลวงสุวรรณฯ เมื่อศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ได้ศึกษาวิชากสิกรรมและเป็นผู้มีความสนใจในเรื่องการเลี้ยงสัตว์เป็นอันมาก ฉะนั้นเพื่อประโยชน์แก่การส่งเสริมการปศุสัตว์ ทางราชการจึงได้ย้ายท่านไปเป็นอธิบดีกรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ใน พ.ศ. ๒๔๘๖ ทางการได้สถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้น และได้แบ่งการศึกษาออกเป็น ๔ คณะคือ (๑) คณะกสิกรรมและสัตวบาล (๒) คณะวนศาสตร์ (๓) คณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ (๔) คณะการประมง ในสมัยเริ่มจัดตั้งมหาวิทยาลัยนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการดำรงตำแหน่งอธิการบดี และข้าพเจ้าซึ่งในขณะนั้นเป็นปลัดกระทรวงเกษตราธิการ เป็นรองอธิการบดี ต่อมาเมื่อการก่อสร้างสถานีที่ และการศึกษาได้เริ่มดำเนินการมาได้ ๓ ปีแล้ว ทางราชการพิจารณาเห็นว่าตำแหน่งอธิการบดีและรองอธิการบดีควรจะตั้งจากข้าราชการซึ่งมีเวลาปฏิบัติงานในหน้าที่ได้เต็มเวลา ฉะนั้น ท่านอธิการบดีและข้าพเจ้าจึงลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อตอนต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๙ และสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ตั้งให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี ในระหว่างที่คุณหลวงสุวรรณฯ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นี้ ท่านได้สนใจในการพัฒนากิจการของมหาวิทยาลัยทุก ๆ ด้านเป็นอย่างยิ่งขณะที่ยังเป็นสมัยเริ่มแรกของมหาวิทยาลัย ทุก ๆ เช้าท่านได้เดินไปตรวจตรากิจการงานรอบบริเวณมหาวิทยาลัย เป็นการตรวจดูงานและเป็นการออกกำลังไปในตัวด้วย ในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งอธิการบดีได้พยายามวางรากฐานของการศึกษาและได้พัฒนากิจการของมหาวิทยาลัย ให้เจริญก้าวหน้าเป็นอันมาก ในระยะนี้ทางมหาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้าเป็นอันมาก ในระยะนี้ทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีคณะวิชาเพิ่มขึ้นอีก ๒ คณะคือ คณะสัตวแพทยศาสตร์ซึ่งโอนมาจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมชลประทาน ซึ่งเดิมเป็นโรงเรียนช่างชลประทานของกรมชลประทาน เมื่อรวมคณะวิชาทั้งหมดแล้วจึงมี ๖ คณะด้วยกัน และได้จัดให้มีการก่อสร้างอาคารสถานที่ขึ้นอีกหลายหลัง ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และได้มีนักศึกษาสำเร็จได้ปริญญาออกมาหลายรุ่น ซึ่งทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศในด้านต่าง ๆ ตามที่ได้ศึกษามา งานที่เด่นเป็นพิเศษซึ่งสมควรจะนำมากล่าวยกย่อง ณ ที่นี้ คือ การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ดก เป็นงานที่คุณหลวงสุวรรณฯ ได้สนใจและเอาใจใส่เป็นชีวิตจิตใจได้จัดให้มีแผนกวิชาไก่ขึ้นในคณะกสิกรรมและสัตวบาลอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และได้สั่งซื้อไก่พันธุ์ไข่ดกมาจากต่างประเทศหลายพันธุ์ เพื่อเป็นการทดลองดูผลและเผยแพร่สำหรับท่านเองก็ได้เลี้ยงไก่ที่บ้านโดยตัวท่านและบุตรเป็นผู้เลี้ยง ท่านได้สนใจในเรื่องการเลี้ยงไก่อย่างจริงจังมีการเขียนบทความเผยแพร่ในหนังสือพิพม์ต่าง ๆ ทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ และจัดให้มีการแข่งขันไข่ดก และโฆษณาคำขวัญว่า "กินไข่วันฟองไม่ต้องไปหาหมอ" ท่านได้กระทำทุก ๆ ทางที่จะส่งเสริมให้ประชาชนสนใจกับการเลี้ยงไก่ เช่นริเริ่มงานสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย จัดตั้งโรงเรียนไก่ทางวิทยุอยู่สมัยหนึ่ง เขียนบทความในหนังสือ "กสิกร" จัดหนังสือพิมพ์ "สาส์นไก่" ซึ่งได้เริ่มมาแต่ พ.ศ. ๒๔๙๔ และได้เขียนตำราเลี้ยงไก่ไว้หลายเล่ม ในด้านการสหกรณ์ คุณหลวงสุวรรณฯ ได้เป็นประธานกรรมการของสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยจำกัดสินใช้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นเวลาหลายปีและได้ให้ความช่วยเหลือแก่สหกรณ์นี้ในด้านวิชาการและข้อแนะนำต่าง ๆ เป็นอย่างดี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้คุณหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ เป็นผู้แทนประเทศไทยไปร่วมการประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อหารือปัญหาพันธุ์สัตว์ประเทศร้อน ณ กรุงไคโร และไปร่วมการประชุมประจำปีเรื่องการเลี้ยงสัตว์ ณ กรุงวอชิงตัน และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้ท่านเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทยไปประชุมสันนิบาตไก่ของโลกครั้งที่ ๑๐ ณ เมืองอัมสเตอร์ดัม และเมื่อเสร็จการประชุมแล้วได้ไปดูการเลี้ยงไก่และการเลี้ยงสัตว์ในประเทศต่าง ๆ อีกด้วย การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ดกที่เจริญเป็นล่ำเป็นสันในประเทศไทยปัจจุบันนี้ คุณหลวงสุวรรณฯ ได้มีส่วนอยู่เป็นอันมาก จนอาจกล่าวได้ว่า คุณหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจเป็นผู้นำ (Pioneer) ในเรื่องการเลี้ยงไก่ในประเทศไทยคนหนึ่ง ซึ่งนักเลี้ยงไก่ทุก ๆ คนรู้จักชื่อคุณหลวงสุวรรณฯ ดี แม้จะไม่เคยเห็นหน้าท่านเลย ทั้งนี้ก็เพราะชื่อเสียงเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่นั่นเอง "การเลี้ยงไก่" นี้นับว่าเป็นงานชิ้นเอกที่ท่านได้ฝากฝีมือและจิตใจไว้ ท่านได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ในประเทศไทยอย่างน่าสรรเสริญ แม้เมื่อท่านออกจากราชการเพื่อรับบำนาญเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ แล้ว ก็ได้มาตั้ง "ฟาร์มเรศานนท์" เพื่อเลี้ยงไก่เป็นอาชีพอยู่ที่ซอยอัฎฐมิตร ตำบลบางเขน และขณะนี้มีไก่จำนวนตั้ง ๔,๐๐๐ ตัว ทั้งนี้เป็นตัวอย่างอันดีในการที่ประชาชนจะเลี้ยงไก่เป็นอาชีพ นอกจากการเลี้ยงไก่แล้ว ท่านได้สนใจในเรื่องการเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ อีกด้วย และได้ให้คณะกสิกรรมและสัตวบาลทำการเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ อีกด้วย และได้ให้คณะกสิกรรมและสัตวบาลทำการเลี้ยงเพื่อเป็นการทดลองดูผลและเผยแพร่เช่น การเลี้ยงเป็ดพันธุ์ KaKi Cambell การเลี้ยงหมูพันธุ์ Yorkshire, Middle White, Duroc Jersey ฯลฯ การเลี้ยงแพะพันธุ์ Sarnen จากเดนมาร์ก การเลี้ยงวัวพันธุ์ Bangalore, Jersey, Red Sindi, Brown Swiss ฯลฯ และคุณหลงสุวรรณฯ ได้ริเริ่มการอบรมวิชาชีพทางเกษตรสาขาต่าง ๆ ภาคฤดูร้อนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้นับว่าทานได้ปูพื้นฐานสำหรับการเลี้ยงสัตว์และการส่งเสริมทางเกษตรสาขาต่าง ๆ ไว้เป็นอย่างดี คุณหลวงสุวรรณฯ ได้รับราชการเกี่ยวกับกสิกรรมมาแต่ พ.ศ. ๒๔๖๐ เริ่มต้นตั้งแต่เป็นครูโรงเรียนฝึกหัสครูประถมกสิกรรม อธิบดีกรมเกษตรและการประมง อธิบดีกรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ ตลอดมาจนเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ออกจากราชการเพื่อรับบำนาญเหตุสูงอายุเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ ทั้งนี้นับว่าได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับการส่งเสริมการกสิกรรมเป็นเวลากว่า ๔๐ ปี และได้ทำชื่อเสียงในด้านนี้ไว้มาก ดังได้กล่าวในตอนต้นแล้ว ท่านได้เอาใจใส่ในการศึกษาและค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ และเมื่อได้รับทุนหลวงไปศึกษาวิชากสิกรรมที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ก็ได้รับปริญญา B.Sc. Agr. Honors จากมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ซึ่งเป็นคนไทนคนแรกที่ได้รับปริญญาเกียรตินิยมทางกสิกรรม ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับปริญญา D.Sc. กิตติศักดิ์จาก Oregon StateCollege, U.S.A. และเมื่อพ.ศ. ๒๕๐๔ ได้รับปริญญากสิกรรมและสัตวบาลดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อนึ่ง ในระหว่างดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเกษตรได้รับเลือกให้เป็นพระยาแรกนาในพระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ ทั้งนี้นับว่าคุณหลวงสุวรรณฯ ได้รับเกียรติยศอย่างสูงในด้านกสิกรรมและได้ปฏิบัติราชการเป็นคุณประโยชน์ในด้านกสิกรรมตลอดมาจนถึงสิ้นอายุขัย ตลอดจนเวลาที่คุณหลวงสุวรรณฯ ได้รับราชการอยู่ในสังกัดกระทรวงเกษตรร่วมกับข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้ารู้สึกว่าคุณหลวงสุวรรณฯ เป็นนักวิชาการที่ดีและทำการศึกษาค้นคว้าอยู่เป็นนิจเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยมีความขยันขันแข็งและเอาใตใส่ต่อการงานในหน้าที่เป็นอย่างดียิ่ง มีน้ำใจเข้มแข็งมานะอดทน และเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของผู้บังคับบัญชา ทั้งเป็นผู้มีอัธยาศัยดี มีความโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อจึงเป็นที่รักใคร่นับถือของเพื่อนข้าราชการและญาติมิตรทั่วไป สำหรับตัวข้าพเจ้านั้นข้าพเจ้ามีความรักใคร่และนับถือว่าคุณหลวงสุวรรณฯเป็นมิตรที่ดีคนหนึ่งที่น่าคบหาสมาคม คุณหลวงสุวรรณฯ เป็นผู้มีคุณสมบัตและคุณธรรมอันดีงาม ตั้งใจปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และประพฤติตนอยู่ในสัมมราจารีตลอดมา จึงได้มีความเจริญก้าวหน้าทั้งในทางราชการและส่วนตัวมาด้วยดีได้รับพระราชทานยศบรรดาศักดิ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และได้เลื่อนตำแหน่งสูงสุดสำหรับข้าราชการประจำ ซึ่งนับว่าหาได้ยากและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ข้าราชการ"
|
||