2526   ศูนย์คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักบริการคอมพิวเตอร์
    ถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวนศาสตร์ แด่เจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินเบอระ
    ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) รัฐบาลไทย และรัฐบาลไต้หวัน ร่วมมือจัดตั้ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย (The Asian Vegetable Research and Development Center : AVRDC)
    ปรับปรุงวิชาบังคับก่อน (prerequisite) ในรายวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
    มหาวิทยาลัย ขยายการรับนิสิตระดับปริญญาตรีโควต้าพิเศษ เพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร วท.บ. (คหกรรมศาสตร์) และ สพ.บ.
    คณะเกษตรและคณะสัตวแพทยศาสตร์เริ่มรับนิสิตระดับปริญญาตรีโควต้าพิเศษจากจังหวัดในลุ่มน้ำแม่กลอง
    สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับสถานีฝึกนิสิตและสถานีวิจัย 9 แห่ง เข้ารวมกับสถาบัน
    จัดงานวันเกษตรแห่งชาติ ที่กำแพงแสนเป็นครั้งแรก
2527   กองบริการการศึกษา ประสานงานในการสอบคัดเลือกนักเรียนโควต้าพิเศษ และมีคณะศึกษาศาสตร์ เข้ามาร่วมโครงการเป็นคณะที่ 4
    นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะเกษตร สาขาเกษตร ย้ายไปเรียนที่วิทยาเขตกำแพงแสน
    คณะศึกษาศาสตร์เริ่มรับนิสิตระดับปริญญาตรีโควต้าพิเศษ จากจังหวัดในลุ่มน้ำแม่กลอง
    จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก (Regional Community Forestry Trainee Center : RECOFTC) โดยความร่วมมือและสนับสนุนของประเทศภาคพื้นภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2528   สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ยกฐานะเป็นหน่วยงานระดับคณะ
    คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พ.ส.ว.ท.) รับนักเรียนโครงการ พ.ส.ว.ท. ที่จบ ม.6 มาเรียนต่อโดยให้ทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร
    คณะวิทยาศาสตร์ เริ่มรับนิสิตระดับปริญญาตรีโควต้าพิเศษ จากจังหวัดในลุ่มน้ำแม่กลอง
2529   นายสุธรรม อารีกุล เป็นอธิการบดี
    นายประเสริฐ ณ นคร เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (30 ส.ค. 2529 - 29 ส.ค. 2531)
    นิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาศิลปาชีพ จำนวน 9 คน ได้รับอนุมัติให้ไปเรียนในภาคฤดูร้อนที่สถาบัน ITM ประเทศออสเตรเลียด้านการโรงแรม ภาควิชาประเมินและรายงานผลการสอน
    มีระเบียบว่าด้วยการเงินการศึกษาภาคฤดูร้อน โดยสภามหาวิทยาลัยเป็นฉบับแรก
    รัฐบาลฝรั่งเศสให้ความช่วยเหลือในการจัดตั้ง "โครงการศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบเกษตรกรรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" (Development - Oriented Research on Agricultural Systems Center Kasetsart University : DORAS)
    อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ ใช้เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรก
    2529-35 โครงการรถบาทเดียว
2530   เปิดศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชน (RECOFTC) โดยรัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย
    ปรับปรุงค่าหน่วยกิตลงทะเบียน โดยแยกเป็นวิชาบรรยาย หน่วยกิตละ 30 บาท วิชาปฏิบัติการ หน่วยกิตละ 60 บาท
2531   14-18 พฤศจิกายน เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสภากวีโลก ครั้งที่ 10
    นายประยูร จินดาประดิษฐ์ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (30 ส.ค. 2531 - 29 ส.ค. 2535)
    นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาศึกษาศาสตร์-เกษตร เริ่มย้ายไปเรียนที่วิทยาเขตกำแพงแสน ตั้งแต่ ภาคต้น
    คณะมนุษยศาสตร์ เริ่มรับนิสิตระดับปริญญาตรีโควต้าพิเศษ จากจังหวัดในลุ่มน้ำแม่กลอง
    คณะวนศาสตร์ เริ่มรับนิสิตระดับปริญญาตรีโควต้าพิเศษทั่วประเทศ
    ปรับปรุงระเบียบการสอบ PT วิชาภาษาอังกฤษ โดยไม่นับหน่วยกิตในวิชา ENG 111 และนิสิตต้องเรียน ENG รหัสอื่น ๆ ให้ครบ 9 หน่วยกิตเป็นอย่างต่ำ เริ่มใช้กับนิสิตที่เข้าศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 เป็นต้นไป
    เตรียมการจัดตั้งวิทยาเขตศรีราชา
    เปิดรับนิสิตโครงการนักกีฬาดีเด่นรุ่นแรก
    คณะเศรษฐศาสตร์เปิดโครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น MINI MBA ครั้งแรก
    คณะวิศวกรรมศาสตร์เริ่มโครงการวิศวฯ บริการ (ติวฟรี)
2532   คณะวิศวกรรมศาสตร์ รับผู้ที่จบการศึกษาจากคณะแล้วมาศึกษาเพื่อรับปริญญาอีก 1 ปริญญา ในระดับปริญญาตรี
    เปิดรับนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ภาคพิเศษ ใน 4 สาขา ตามนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัยในการเร่งรัดการผลิตวิศวกร
    คณะสังคมศาสตร์ เริ่มรับนิสิตระดับปริญญาตรีโควต้าพิเศษ จากจังหวัดในลุ่มน้ำแม่กลอง
    คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ เปิดหลักสูตรปริญญาเอกครั้งแรก คือ หลักสูตร วท.ด. (เศรษฐศาสตร์เกษตร)
    โครงการฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับประชาชน และสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม ได้รับรางวัลโครงการ และหน่วยงานดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม (ด้านการศึกษา) จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
    มหาวิทยาลัยได้รับรางวัล Federal Merit Prize จากผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตกระบือในงานประชุม The II World Buffalo Congress และได้รับรางวัล ICD Prizes จากการประกวดเทปโทรทัศน์ระหว่างประเทศ จากงาน The 1988 Sony ICD Video Contest in Tokyo
    เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทสำหรับผู้บริหารระดับสูง (EX-MBA)
    เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ภาคพิเศษ
2533   จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีซีเอ็นซี (CNC) ผลิตวิศวกรยุคใหม่สู่ภาคอุตสาหกรรม
    นิสิตระดับปริญญาตรี เฉพาะที่วิทยาเขตบางเขน มีจำนวนถึงหนึ่งหมื่นคนเป็นครั้งแรก
    คณะวิศวกรรมศาสตร์ เริ่มโครงการเปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์ภาคพิเศษสำหรับภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจเป็นรุ่นแรก
    เริ่มใช้รหัสวิชาเป็นตัวเลข 3 หลัก แทนระบบตัวอักษร ตั้งแต่ภาคฤดูร้อน
    เริ่มใช้วิธีการลงทะเบียนเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้ระบบการอ่านข้อมูล บัตรลงทะเบียนเรียนผ่านเครื่อง Optical Mark Reader
    คณะอุตสาหกรรมเกษตร เปิดสอนปริญญาเอกครั้งแรก คือ วท.ด. (วิทยาศาสตร์การอาหาร) และ วท.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
2534   จัดตั้งสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
    นิสิตชั้นปีที่ 1 โควต้าพิเศษของคณะเกษตร สาขาเกษตรศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์สาขาศึกษาศาสตร์เกษตร เริ่มการเรียนการสอนที่วิทยาเขตกำแพงแสน และปีนี้ทั้ง 2 คณะ มีนิสิตครบ 4 ชั้นปี
    ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2521
    คณะอุตสาหกรรมเกษตร และคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ เริ่มรับนิสิตระดับปริญญาตรีโควต้าพิเศษ จากจังหวัดในลุ่มน้ำแม่กลอง
    เริ่มดำเนินการเครือข่ายนนทรี
2535   นายกำพล อดุลวิทย์ เป็นอธิการบดี
    นายสง่า สรรพศรี เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (30 ส.ค. 2535-29 ส.ค. 2539)
    เปิดใช้งานเครือข่ายนนทรี
    จัดตั้งคณะบริหารธุรกิจ และคณะเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเดิมสังกัดรวมกันเป็นคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
    คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขยายโครงการรับนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ภาคพิเศษต่อจากโครงการ 3 ปีตามแผนของทบวงมหาวิทยาลัยที่สิ้นสุดใน พ.ศ. 2534
    มหาวิทยาลัยร่วมกับกรมชลประทาน เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมชลประทาน) ให้กับกรมชลประทาน โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ทำการคัดเลือกและดำเนินการสอนเอง)
    คณะวนศาสตร์ เปิดหลักสูตรปริญญาเอกครั้งแรก 4 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาวนวัฒนวิทยา สาขาวิชาการจัดการป่าไม้ สาขาวิชานิเวศวิทยาป่าไม้ และสาขาวิชาการจัดการลุ่มน้ำ
    ยกเลิกการสอบ PT วิชาภาษาอังกฤษ ใช้คะแนนสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของทบวงมหาวิทยาลัยในวิชาภาษาอังกฤษวัดระดับความรู้วิชาภาษาอังกฤษแทน
    คณะมนุษยศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทครั้งแรก คือ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาศาสตร์ประยุกต์)
    คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดหลักสูตรปริญญาเอกครั้งแรก คือ วศ.ด.(วิศวกรรมโยธา)
    เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ในสาขาวิชาการฝึกกีฬา
    คณะประมงเริ่มรับนิสิตระดับปริญญาตรี โควต้าพิเศษ จากจังหวัดในลุ่มน้ำแม่กลอง
    จัดตั้งศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์น้ำ และศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์
    จัดสร้างพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย (พระพุทธชินสีห์จำลอง) ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    มหาวิทยาลัยมีข้อตกลงร่วมมือด้านวิชาการกับสถาบันการศึกษาในเขตอาเซียน 13 สถาบัน 5 สถาบันในยุโรป 2 สถาบันในอเมริกาเหนือ และ 12 สถาบัน โดยข้อตกลงร่วมมือส่วนใหญ่เพื่อช่วยเหลือการขายโครงการวิจัยพัฒนาหรือโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์และ/หรือนิสิต
    จัดตั้งสำนักทะเบียนและประมวลผล
    รับสถาบันสมทบ 2 สถาบัน คือ วิทยาลัยการชลประทาน และโรงเรียนสัตวแพทย์