2516   คณะศึกษาศาสตร์ รับข้าราชการครูมาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี เป็นครั้งแรกในสาขาศึกษาศาสตร์-เกษตร และศึกษาศาสตร์-คหกรรมศาสตร์
    คณะประมงเปิดหลักสูตรปริญญาโทครั้งแรก คือ วท.ม. (วิทยาศาสตร์การประมง)
    รับนิสิตใหม่เข้าเรียนโดยแบ่งเป็น 2 สาย คือสายวิทยาศาสตร์และสายศิลปศาสตร์ (แต่ปีต่อมาก็ยกเลิกไป)
2517   หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (30 ส.ค. 2517 - 29 ส.ค. 2529)
    จัดตั้งคณะสังคมศาสตร์
2518   นายระพี สาคริก เป็นอธิการบดี
    คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรเตรียมแพทย์ให้กับวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นหลักสูตร 2 ปี (พ.ศ. 2524 ปรับปรุงหลักสูตรเป็น 1 ปี)
    คณะสัตวแพทยศาสตร์ ให้ปริญญา วท.บ.(สัตวแพทย์) แก่ผู้เรียนจบชั้นปีที่ 4 ของหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (ยกเลิกใน พ.ศ. 2525) และเมื่อศึกษาต่อจนครบ 6 ปี และมีผลตามเกณฑ์จะได้ปริญญา สพ.บ.
    จัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ ในสังกัดสำนักอธิการบดี
    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ เสด็จเข้าศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์
    จดทะเบียนร้านสหกรณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูลการลงทะเบียนเป็นครั้งแรก
    มหาวิทยาลัยจัดแสดงละครการกุศลเรื่อง "ผู้วิเศษ" โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ ทรงร่วมแสดงด้วย
2519   จดทะเบียนดำเนินงานโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ เสด็จมาเป็นอาจารย์พิเศษวิชาภาษาฝรั่งเศส
    สำนักงานอธิการบดีแบ่งส่วนราชการเป็น 7 กอง คือ กองกลาง กองการเจ้าหน้าที่ กองกิจการนิสิต กองคลัง กองบริการการศึกษา กองแผนงาน และกองยานพาหนะอาคารและสถานที่
2520   มหาวิทยาลัยปรับปรุงวิชารัฐศึกษา 111 ตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้สถาบันอุดมศึกษา บรรจุวิชาที่เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นวิชาบังคับทุกหลักสูตร
    หอสมุดกลาง ได้ยกฐานะเป็นสำนักหอสมุด
    คณะวนศาสตร์ เริ่มรับนิสิตหญิงเป็นปีแรก
    เปลี่ยนแปลงวันรับรางวัลเรียนดีประจำปี โดยให้ไปรับในวันไหว้ครูแทนวันพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
2521   ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีเป็นครั้งที่ 3 (เป็นข้อบังคับฉบับที่ 4)
    จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    เป็นเจ้าภาพจัดสถานที่เพื่อแข่งขันกีฬาทางน้ำ ในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 ทำให้มหาวิทยาลัยได้มีสระน้ำมาตรฐานโอลิมปิกคือ สระจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
    เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมกล้วยไม้โลกครั้งที่ 9
    รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
2522   เริ่มเปิดการเรียนการสอนที่ วิทยาเขตกำแพงแสน
2523   นายไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ เป็นอธิการบดี
    เริ่มการทดลองโครงการสอบเพื่อวัดระดับความรู้วิชาภาษาอังกฤษ (Plascement Test หรือ Proficiency Test) กับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ นิสิตที่สอบผ่านได้รับการยกเว้นไม่ต้องเรียนในรหัสวิชาภาษาอังกฤษที่สอบผ่าน โดยจะได้หน่วยกิต แต่รายงานระดับคะแนนเป็น Pass
    เริ่มรับนิสิตปริญญาตรีโควต้าพิเศษจากจังหวัดต่าง ๆ ในบริเวณลุ่มน้ำ
แม่กลอง เข้าศึกษาหลักสูตร วศ.บ. (เกษตร) และ วศ.บ. (ชลประทาน)
    สำนักหอสมุด จัดตั้งศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ
    สภาคณาจารย์ เปลี่ยนชื่อเป็น สภาข้าราชการมหาวิทยาลัย
    ขยายการดำเนินงานโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปยังวิทยาเขต กำแพงแสน
    จัดตั้งคณะอุตสาหกรรมเกษตร เดิมคือแผนกวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร ซึ่งตั้งเมื่อ พ.ศ. 2509
    รัฐบาลญี่ปุ่นตกลงให้ความช่วยเหลือเพื่อก่อสร้างศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตร กับศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตร
2524   จัดตั้งมูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    จัดตั้งคณะมนุษยศาสตร์ โดยแยกภาควิชาภาษาออกจากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ และแยกภาควิชาปรัชญาและศาสนาออกมาจากคณะสังคมศาสตร์ พร้อมทั้งจัดภาควิชาใหม่
    คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ เปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิทยาศาสตร์
    ปรับปรุงการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยกำหนดให้ทุกหลักสูตรต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต หรือเรียนภาษาต่างประเทศภาษาใดภาษาหนึ่งอย่างน้อย 9 หน่วยกิต
    เริ่มให้ทุกคณะมีการทดสอบวัดความรู้ระดับ ภาษาอังกฤษ (สอบPT) และปรับปรุงรายวิชา วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานเป็น 3 วิชา 9 หน่วยกิต
    IDRC (International Development Research Centre) สนับสนุนโครงการวิจัยด้านการเกษตร จัดตั้งศูนย์สนเทศทางกระบือ (IBIC) และศูนย์บริการข้อมูลทางการเกษตร (Thai National AGRIS) ณ สำนักหอสมุด
    มีบัณฑิตปริญญาเอกคนแรก ชื่อ นาย วิวัฒน์ เสือสะอาด
    มหาวิทยาลัยลงนามร่วมกับมหาวิทยาลัยนาโกย่า ทำสัญญาการแลกเปลี่ยนทางด้านการศึกษา เรียกว่า "International Students Exchange Program"
2525   นายจงรัก ปรีชานนท์ เป็นอธิการบดี
    คณะศึกษาศาสตร์รับนิสิตที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญาจากวิทยาลัยพลศึกษามาศึกษาต่อเป็นหลักสูตร 2 ปี ในหลักสูตร ศศ.บ. (ศึกษาศาสตร์-พลศึกษา) ยกเลิกโครงการในปีต่อมา
    เริ่มโครงการโรงเรียนบุตรเกษตรกร