ประวัติความเป็นมา
ภายหลังที่รัฐบาลได้จัดทำแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมีเป้าหมายให้เป็นเขตอุตสาหกรรมหลัก
เขตพาณิชยกรรม และการค้า เขตส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เขตพัฒนาเมืองและชุมชน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีศักยภาพและความพร้อมทางวิชาการ จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ของมหาวิทยาลัย
ซึ่งแต่เดิมเป็นสถานีวิจัยและฝึกงานให้เป็นที่ตั้งของวิทยาเขตแห่งใหม่ เพื่อเป็นสถานศึกษาทำการผลิต
และพัฒนากำลังคนระดับสูง ตอบสนองแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดเตรียมการจัดตั้งวิทยาเขตศรีราชา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ในแนวคิดการจัดการศึกษาที่มุ่งผลิตและพัมนากำลังคนเฉพาะสาขาที่สนองตอบความ
ต้องการกำลังคนของ ภาคตะวันออก โดยมีหลักการดังนี้
- ผลิตและพัฒนากำลังคนระดับสูงได้มาตรฐาน สู่ความเป็นสากล
- ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือ และการผนึกกำลังของสถานศึกษากับสถานประกอบการในเขตภูมิภาค
- จัดองค์กรและรูปแบบการบริหารที่คำนึงถึงประสิทธิภาพและความเป็นเลิศทางวิชาการ
โดยให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
- จัดการศึกษาในรูปแบบของโปรแกรมทางการศึกษา เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและใช้ประโยชน์จากปัจจัยต่าง
ๆ ได้สูงสุด
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเป็นแหล่งให้การศึกษาที่สามารถผลิตและพัฒนากำลังคนระดับสูง ตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมบริเวณชายฝั่งทะเลตะวัน ออกและประเทศตามลำดับ
๒. เพื่อเป็นแหล่งให้บริการทางวิชาการแก่สังคม โดยการฝึกอบรม การพัฒนาวิชาชีพ
การให้คำแนะนำและคำ ปรึกษาทางวิชาการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
๓. เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจและ สังคม
๔. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและให้บริการข้อมูลข่าวสาร การศึกษา การวิจัย และพัฒนาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เกษตรกรรม ที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก
๕. เพื่อเป็นแหล่งส่งเสริมและฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรและบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม
ปณิธานวิทยาเขต
วิทยาเขตศรีราชา มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ มีภูมิปัญญา
มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า และสืบทอดมรดกที่ดีงามของสังคม
โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับภาครัฐและเอกชน
ที่ตั้ง
๑๘๘ ถนนสุขุมวิท ตำบลทุ่งศุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์ (๐๓๘)
๓๕๑-๑๖๙, ๓๕๒-๓๗๙ ถึง ๘๐ โทรสาร (๐๓๘) ๓๕๒-๓๘๑
คณะและสาขาวิชาที่เปิดสอน
๑. คณะวิทยาการจัดการ
ระดับปริญญาตรี
๑. สาขาวิชาการจัดการ
๒. สาขาวิชาการตลาด
๓. สาขาวิชาการเงิน
๔. สาขาวิชาการโรงแรม
๕. สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
๖. สาขาวิชาการพาณิชย์นาวี
๗. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจความเสี่ยง
๘. สาขาวิชาการบัญชี
ระดับปริญญาโท
๑. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม
๒. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
๓. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน
๒. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ระดับปริญญาตรี
๑. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
๒. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
๓. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปริญญาตรี
๔. สาขาวิชาวิศวกรรมการต่อเรือ
๕. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
๖. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและขนส่ง
ระดับปริญญาโท
๑. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
๒. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
๓. คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ระดับปริญญาตรี
๑. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
๒. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
๓. สาขาวิชาเคมีเทคนิค(อุตสาหการ)
๔. สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ
๕. สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
ระดับปริญญาโท
๑. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ที่มา : http://www.src.ku.ac.th/kusc
|