|
|
ศ.ดร.กำพล อดุลวิทย์
ตำแหน่งวิชาการ
ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๐ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คุณวุฒิ
พ.ศ. ๑๕๐๒ ปริญญาตรี กสิกรรมและสัตวบาลบัณฑิต เกียรตินิยม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๐๕ M.S. in Agricultural Aconomics จาก Oregon State University,
U.S.A.
พ.ศ. ๒๕๑๓ Ph.D. in Agricultural Economics จาก Purdue University,
U.S.A.
พ.ศ. ๒๕๓๓ ปริญญาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รปอ.)
ประวัติการรับราชการ
ได้ปฏิบัติราชการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่เริ่มบรรจุเป็น
ข้าราชการ จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาประมาณ ๒๙ ปี
พ.ศ. ๒๕๐๕ อาจารย์โท ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
พ.ศ. ๒๕๑๔ อาจารย์เอก
พ.ศ. ๒๕๑๖ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
พ.ศ. ๒๕๒๒ รองศาสตราจารย์
พ.ศ. ๒๕๓๔ ศาสตราจารย์
ประสบการณ์ในการทำงาน
๑. ประสบการณ์ทางการสอน
ได้ทำการสอนทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท ทางด้านเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร
๒. ประสบการณ์ทางการบริหาร
พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๗ รองประธานกรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๒๒ ผู้อำนวยการวิจัย และประธานกรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๒๒ หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๒๙ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๑ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผนพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๓ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๒๙ - ปัจจุบัน เป็นผู้ประสานงานโครงการร่วมือทางวิชาการ
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. ๒๕๓๑ - ปัจจุบัน ประธานกรรมการสวัสดิการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๓๓ - ปัจจุบัน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๓. ประสบการณ์อื่น ๆ
๑. กรรมการภายในมหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๖ กรรมการการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๒๒ กรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๒๔ กรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๒๗ กรรมการประจำสถาบันค้นคว้า และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๑๙ ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๑๘ - ปัจจุบัน กรรมการประจำสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม
พ.ศ. ๒๕๒๖ - ปัจจุบัน กรรมการประจำสำนักหอสมุด
พ.ศ. ๒๕๒๙ - ปัจจุบัน กรรมการประจำสำนักบริการคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๒. กรรมการภายนอกมหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๒๗ กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๓๑ กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๔ กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๒๒ ประธานอนุกรรมการพิจารณาจัดวางนโยบาย และกำหนดเป้าหมายการวิจัยทางการเกษตร
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๓๓ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๒๕ กรรมการส่งเสริมอาชีพในคณะกรรมการวิสามัยประจำ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๖ - ๒๕๒๗ กรรมการประสานงานวิจัยทางเกษตรแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๒๘ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสต์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๓๓ นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. ๒๕๒๓ - ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการพิจารณา
กำหนดอัตราค่าลงทุนที่จะเรียกเก็บคืนจากเกษตรกร ในเขตปฏิรูปที่ดิน
สำนักงานปฏิรูปที่ดิน กระทรวง เกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. ๒๕๒๗ - ปัจจุบัน กรรมการโครงการร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-
ญี่ปุ่น (NRCT-JSPS) สำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๑ - ปัจจุบัน ประธานอนุกรรมการสาขาผลิตผลเกษตร โครงการร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-ญี่ปุ่น
(NRCT-JSPS) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๒๙ - ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและ แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๓. การรักษาราชการแทนอธิการบดี
เมื่ออธิการบดีไปราชการต่างประเทศหรือในประเทศจะได้รับมอบหมาย ให้รักษาการแทนอธิการบดีทุกครั้ง
ดังต่อไปนี้
๓.๑ ในระหว่างที่เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผนพัฒนา (๑ ก.ค.
๒๕๒๙ - ๑๐ มิ.ย. ๒๕๓๑) รักษาราชการแทนอธิการบดี
๓.๒ ในระหว่างที่เป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร (๑๑ มิ.ย. ๒๕๓๑ - ๑๗ มิ.ย.
๒๕๓๓) รักษาราชการแทนอธิการบดี จำนวน ๒๔ ครั้ง เป็นระยะเวลา จำนวน
๑๐๓ วัน
๓.๓ ในระหว่างที่เป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร (๑๘ มิ.ย. ๒๕๓๓ - ปัจจุบัน)
รักษาราชการแทนอธิการบดี จำนวน ๖ ครั้ง เป็นระยะเวลา จำนวน ๔๓ วัน
ผลงานอื่น ๆ
๑. ผลงานทางด้านบริหาร
๑.๑ เมื่อเป็นรองประธานกรรมการวิจัยของมอบหมาย ได้ริเริ่มพัฒนาระบบการบริหาร
การวิจัยแนวใหม่ โดยพัฒนาโครงการวิจัยแม่บท มีสาขาวิชาการต่าง ๆ (Multidisciplinary)
มาร่วม
๑.๒ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และเป็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาฯ คนแรกซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบใน
การบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้งหมด ทำให้การวิจัยของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีรูปแบบและเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น
๑.๓ เมื่อเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผนพัฒนา ได้ปรับปรุงการของบประมาณ
ใหม่และสามารถปรับฐานงบประมาณของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้เพิ่มสูงขึ้น
ถึง ๑๓ เปอร์เซนต์ เป็นครั้งแรก จากเดิมซึ่งเพิ่มประมาณปีละ ๓-๕ เปอร์เซนต์
และเป็นผลทำให้งบประมาณของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพิ่มสูงขึ้นมาเป็น
ลำดับเช่นในปัจจุบัน
๑.๔ เมื่อเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผนพัฒนา ได้ริเริ่มจัดทำแผนพัฒนา
แม่บท ในการใช้พื้นที่วิทยาเขตบางเขนใหม่ โดยกำหนดให้มีเขตการศึกษา
เขต พักผ่อน และพื้นที่สีเขียว เขตการกีฬา เป็นต้น ตลอดจนการตัดถนนรอบ
มหาวิทยาลัยและระบบระบายน้ำ ฯลฯ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาการใช้พื้นที่
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อมา
๑.๕ ได้ร่วมทำงานในโครงการอีสานเขียวในฐานะประธานคณะทำงานโครงการวิจัยเพื่อ
พัฒนาภาคอีสาน ได้ริเริ่มและประสานโครงการวิจัยในระหว่างสถาบันการศึกษา
ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดความร่วมมือการวิจัยและได้รับงบประมาณอย่าง
ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลต่ออาชีพของพี่น้องในภาคอีสาน
๑.๖ เมื่อเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผนพัฒนา และรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร
นั้น ได้ริเริ่มให้มีการร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัย Tokyo University
of Agriculture (TUA) Tsukuba University และ Uagawa University ในประเทศ
ญี่ปุ่น โดยให้มีการลงนามร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กับมหาวิทยาลัยดังกล่าวของประเทศญี่ปุ่น
สำหรับมหาวิทยาลัย TUA นั้น ได้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกงานซึ่งกันและกันกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา ๓ ปีแล้ว นอกจากนั้นมีทุนการศึกษาให้อาจารย์คณะเกษตร
คณะวิทยาศาสตร์ และสถาบันวิจัยพัฒนาฯ เป็นต้น
สำหรับ Tsukuba University นั้น ได้ให้ความช่วยเหลือทุนไปศึกษาทางด้านเกษตร
วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นจำนวนหลายทุน และ ได้เจรจาขอขยายข้อมูลตกลงรวมถึงสาขาการ
Education, Sport และ Health Science ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาด้านดังกล่าวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป
สำหรับ Kagawa University ได้ให้ความช่วยเหลือการศึกษาด้าน การประมงเรื่อยมา
โดยได้ให้ทุนการศึกษาทางการประมง และสถาบันวิจัยและพัฒนามาเป็นลำดับ
นอกจากนั้นยังจะขยายให้การช่วยเหลือทางด้านอื่น ๆ ต่อไป เช่น ด้านเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
เป็นต้น
๑.๗ เมื่อเป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ได้ปรับปรุงและพัฒนางานสวัสดิการให้ดียิ่งขึ้น
เช่น การให้มีรถโดยสารสวัสดิการเพิ่มมาขึ้น และเป็นของโครงการเอง จำนวน
๗ คัน ปรับปรุงการจัดตลาดนัดจำหน่ายสินค้าจำเป็นในการครองชีพ เพิ่มวงเงิน
โครงการเงินกู้สวัสดิการเคหะสงเคราะห์ โดยเสียอัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับข้าราชการ
โดยผ่อนธนาคารทหารไทย นอกจากนั้นยังจัดให้มีบริการตรวจสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีละ ๒ ครั้ง เนื่องจากวิทยาเขตกำแพงแสนมีบุคลากรมากขึ้น จึงได้จัดให้มี
คณะกรรมการสวัสดิการวิทยาเขตกำแพงแสนเป็นเอกเทศ โดยประสานและ ร่วมมือกับวิทยาเขตบางเขนอย่างใกล้ชิด
๒. ผลงานทางวิชาการ
๒.๑ เป็นบรรณาธิการร่วมในการพิมพ์หนังสือ ดังนี้
๒.๑.๑ Improving Farm Management Teaching in Asia จัดพิมพ์โดย Agriculture
Development Council, Inc., Bangkok, ๑๙๗๘
๒.๑.๒ Thai Rice Farming in Transition จัดพิมพ์โดย Work Panning Co.,
Tokyo, Japan, ๑๙๙๐
๒.๒ ผลงานทางวิชาการประมาณ ๕๐ เรื่อง ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศและ
ในประเทศ เช่น งานวิจัยที่ตีพิมพ์ มีดังนี้
๒.๒.๑ A microeconomic Analysis of Agriculture in Thailand published
in Food Research Institute Studies. Vole XVII, No. ๑, ๑๙๗๙
๒.๒.๒ Constraits to high rice yield, Northwestern Central plain,
Thailand, published in Farm-Levei Constraints to High Rice Yields
in Asia : ๑๙๗๔-๗๗, International Rice Research Institute, Philippines
๑๙๗๙.
๒.๒.๓ Socio-economic conditions of Coastal Fishermen in Phang Nga,
South China Sea Fisheries Development and Coordination Program,
Manila, Philippines, October ๑๙๘๐.
๒.๒.๔ Export Potential of Coastal Shrimp Cultured in Thailand, published
in Renewable Resources in the Pacific, International Development
Research Center Canada ๑๙๘๒.
๒.๒.๕ Living Standard of Coastal Fishermen in Thailand : A Cross-
Section Profile, published in Village-Level Modernization in Southeast
Asia, University of British Columbia ๑๙๘๒.
๒.๒.๖ Thailand : Use and Development of Mangrove and Fisheries resources,
published in Man, Land and Sea, The Agricultural Development Council,
Bangkok, ๑๙๘๒.
๒.๒.๗ The Growth and Impact of Small Farm Mechanization in Asia
published in The Small Consequence of Small Rice Farm Mechanization
in Thailand Rice Farm.
๒.๒.๘ The Comparative Statics of the Behavior of Agricultural Household
in Thailand published in Singapore Economic Review Vol. ๒๙, No.
๑ April ๑๙๘๔.
๒.๒.๙ Production Technology and Economic Effeciency of Thai Coastal
Fishermen published in Small Scale Fisheries in Asia : Socio- Economic
Analysis and Policy by IDRC, ๑๙๘๕.
๒.๒.๑๐ Cost Structure and Profitability of the Thai Coastal Fishery
published in Small Scale Fisheries in Asia : Socio-economic Analysis
and Policy by IDRC, ๑๙๘๕.
๒.๒.๑๑ Socio-economic condition of Coastal Fishermen in Thailand
: A Cross-Sectional Profile, published in Small Scale Fisheries
in Asia : Socio-economic Analysis and Policy by IDRC, ๑๙๘๕.
๒.๒.๑๒ Migration and Agricultural Development in Thailand : Pact
and Present published in Urbanization and Migration in Asean Development,
National Institute for Research Advancement, Tokyo, Japan ๑๙๘๕.
๒.๒.๑๓ Evaluation of Agricultural Research in Thailand, published
in Evaluation in National Agricultural Research published by IDRC,
๑๙๘๗.
๒.๒.๑๔ Irrigation Development and Agricultural Progress in Northeast
Thailand, J. Fac. Agri., Kyushu University, Japan, ๑๙๘๗.
๒.๒.๑๕ Education, Experience and Productivity of Rice Farmers in
Suphan Buri, Phatthalung and Chiangmai, published in Thai Rice Farming
in Transition, eds. By A. Fujimoto, J. Adulavidhaya and T. Matsuda,
World Planning Co., Ltd. Tokyo ๑๙๙๐.
๒.๓ ได้รับรางวัลในการประชุมทางวิชาการประจำปีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ เรื่อง Production Technology and Economic Efficiency
of Thai Coastal Fishermen.
๒.๔ การเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๕๑๖ Visiting Research Scholar ของ Food Research Institure,
Standford University ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๑๗ Senior Fellow ของ Food Institute, East-West Center, Hawaii
ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๒๙-ปัจจุบัน กรรมการที่ปรึกษา Regional Research Institue of
Agriculture in the Pacific Basin (RRIAP), Nihon University, Tokyo
ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. ๒๕๓๔-ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (External Assessor) พิจารณาผลงานระดับรองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ ของ Pertanian University ประเทศมาเลเซีย
|