มหาวิทยาลัยได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็นต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้กิจการ ณ วิทยาเขตกำแพงแสน ดำเนินไปด้วยดีในทุกด้าน โดยมหาวิทยาลัยได้รับ ความช่วยเหลือในรูปให้เปล่าจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อก่อสร้างอาคารและจัดหาครุภัณฑ์เพื่อการวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคม ณ วิทยาเขต กำแพงแสน อันเป็นผลให้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลองศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ และศูนย์เครื่องจักร กลการเกษตร

ในด้านโครงสร้างได้มีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ระดับคณะเพิ่มอีก ๕ หน่วยงานคือ คณะสังคมศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะมนุษยศาสตร์ สำนักหอสมุด และสถาบันวิจัย และพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อประสานนโยบายการวิจัยและงบประมาณวิจัย พร้อมกับได้แบ่งส่วน ราชการในสำนักงานอธิการบดีเป็น ๗ กอง คือ กองกลาง กองการเจ้าหน้าที่ กองกิจการนิสิต กองคลัง กองบริการการศึกษา กองแผนงาน และ กองยานพาหนะอาคารและสถานที่ โดยได้จัดแบ่งส่วนราชการในคณะใหม่ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

๑) คณะสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย
- สำนักงานเลขานุการคณะ
- ภาควิชาจิตวิทยาล
- ภาควิชาปรัชญาและศาสนา
- ภาควิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์
- ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
- ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

๒) คณะอุตสาหกรรมเกษตร ประกอบด้วย
- สำนักงานเลขานุการคณะ
- ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ
- ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
- ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์
- ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

๓) คณะมนุษยศาสตร์ ประกอบด้วย
- สำนักงานเลขานุการคณะ
- ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
- ภาควิชาปรัชญาและศาสนา (ย้ายมาจากคณะสังคมศาสตร์)
- ภาควิชาภาษา
- ภาควิชาภาษาศาสตร์
- ภาควิชาวรรณคดี
- ภาควิชาศิลปาชีพ
- ภาควิชาศิลปนิเทศ

ในด้านการบริหารงานบุคคล รัฐบาลได้กำหนดให้จัดประเภทข้าราชการในสังกัดมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็น ๓ กลุ่มคือ (ก) กลุ่มอาจารย์ (ข) กลุ่มบริการ วิชาการ และ (ค) กลุ่มบริหารและธุรการ (ซึ่งเรียกว่า สาย ก, สาย ข และสาย ค ในปัจจุบัน)

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ เริ่มดำเนินการสอนหลักสูตรเตรียมแพทยศาสตร์ให้แก่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ในด้านการจัดการศึกษา ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอกเป็นครั้งแรกในสาขาวิชากีฏวิทยา และสาขาวิชาปฐพีวิทยา

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เริ่มดำเนินการเรียนการสอนที่วิทยาเขตกำแพงแสน โดยได้มีนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ ๓ และ ๔ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) วิทยาศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์เกษตร) วิทยาศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (เกษตร) กับ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ชลประทาน) และนิสิตชั้นปีที่ ๕ และ ๖ ของหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ไปศึกษาประจำอยู่ ณ วิทยาเขตกำแพงแสน

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ มหาวิทยาลัยเริ่มรับนิสิตระดับปริญญาตรีโควต้าพิเศษจากจังหวัดต่าง ๆ ในบริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (เกษตร) และวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ชลประทาน)

ที่มา : หนังสือเรื่อง "50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : กำเนิดและพัฒนาการ" หน้า 39-40