![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
||
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ในด้านการจัดการศึกษาได้มีการปรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เป็นหลักสูตร ๕ ปี มาเป็นหลักสูตร ๔ ปี ยกเว้นสาขาวิทยาสัตว แพทยศาสตร์ยังคงเป็นหลักสูตร ๖ ปี นอกจากนี้ก็ได้กำหนดให้จัดหมวดหมู่สาขาวิชาที่ทำการสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยให้เป็นเพียง ๔ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ และสาขาวิชาศิลปศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการจัดเรียกประเภทปริญญา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ มีการจัดตั้งคณะใหม่และปรับปรุงเปลี่ยนชื่อของคณะต่าง ๆ ดังนี้ ก. จัดตั้งคณะเพิ่มขึ้น ๒ คณะ คือ ๑) คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ประกอบด้วย ๖ แผนกวิชาคือ - แผนกวิชาเคมี - แผนกวิชาคณิตศาสตร์ - แผนกวิชาชีววิทยา - แผนกวิชาฟิสิกส์ - แผนกวิชาภาษา - แผนกวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๒) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย ๖ แผนกวิชาคือ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ส่วนราชการที่เรียกว่า "แผนกวิชา" เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น
"ภาควิชา" นอกจากนี้ได้มีการจัดตั้งคณะใหม่คือ "คณะศึกษาศาสตร์"
ประกอบด้วย ๓ ภาควิชาคือ ในด้านการพัฒนากลไกการดำเนินงาน ใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๑ ซึ่งได้กำหนดให้มีส่วนราชการระดับคณะ ซึ่งมิได้ มีหน้าที่หลักด้านการดำเนินการสอน อันเป็นผลให้มี การจัดตั้งสำนักงานอธิการบดี (เพื่อการบริหารงานทั่วไป) บัณฑิตวิทยาลัย (เพื่อการประสานงาน จัดการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี) สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (เพื่อการวิจัย) และสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม (เพื่อการส่งเสริม วิชาการ) พระราชบัญญัติฯ ฉบับใหม่นี้ได้ยุบเลิก ตำแหน่งเลขาธิการมหาวิทยาลัย และเปิดทางให้แต่งตั้งรองอธิการบดีฝ่ายต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็น และเหมาะสม ในด้านการพัฒนามหาวิทยาลัย ได้มีการจัดทำโครงการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยใช้เงินกู้ธนาคารโลก เป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยได้เริ่ม ดำเนินงานก่อสร้างในปีสุดท้าย ของทศวรรษที่สามนี้ (พ.ศ. ๒๕๑๕) และเป็นผลให้มหาวิทยาลัยมีพื้นที่ สำหรับดำเนินกิจการด้านการเรียนการสอน และการวิจัยเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งคือ "วิทยาเขตกำแพงแสน" ตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ ๗,๘๑๔ ไร่ โตกว่าวิทยาเขตบางเขนประมาณ ๑๐ เท่าตัว และอยู่ห่างจากวิทยาเขตบางเขนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ ๘๐ กิโลเมตร นับเป็นวิทยาเขต และสถานีวิจัยหลักในภาคตะวันออกแห่งแรก ที่มา : หนังสือเรื่อง "50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : กำเนิดและพัฒนาการ"
หน้า 37-39 |
||