![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
||
ประวัติความเป็นมา
ที่ดินบริเวณเกษตรกลางบางเขน ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เดิมนั้นมีประมาณ
๑,๐๐๐ ไร่เศษ ที่ดินจำนวนนี้ประกอบด้วยที่ทำการ ของวิทยาลัยเกษตรฯ ที่ทำการสถานีทดลองต่าง
ๆ สังกัดกรมเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ มีถนนสายประธานจากประตู ๑ ด้านถนน
งามวงศ์วานไปสุดที่คลองหมู่ไผ่ (โรงสูบน้ำ) แบ่งเขตที่ทำการของส่วนราชการดังกล่าว
ทางทิศตะวันตกและตัดผ่านที่ดินบางส่วนของวิทยาลัยเกษตรฯ ทางทิศตะวันออก ต่อมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เวนคืนที่ดินทางด้านทิศเหนือ
ขนานไปกับถนนพูนดิน (ซูเปอร์ไฮเวย์) ไปจรดคลองหมู่ไผ่อีก ในขณะนั้นประมาณว่าที่ดินทั้งหมดกว่า
๑,๒๐๐ ไร่เศษ ที่ดินบางส่วนพร้อมอาคารบางหลังจำเป็นต้องคืนให้กระทรวงเกษตรฯ
เจ้าของเดิม ฉะนั้นพื้นที่ ที่เหลืออยู่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในทศวรรษต่อมาจึงมีประมาณ
๘๐๐ กว่าไร่ ซึ่งพอเพียงสำหรับการเรียนการสอนนิสิตเพียงประมาณ ๒,๖๐๐ คน อันส่งผลให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดทำโครงการปรับปรุงและขยายงาน
ทั้งเพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถขยายการรับนิสิตได้เพิ่ม มากขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย
๑) อาคารที่ทำการ - สำนักงานเลขาธิการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ย้ายที่ทำการอีกหลายครั้งเช่น ย้ายไปที่ทำการที่ชั้นบนของเรือนเขียว ตึกชีววิทยา และ หอประชุม ปัจจุบันได้ย้ายไปก่อสร้างในพื้นที่ของตนเองเป็นเอกเทศแล้วในสภาพสำนักงานอธิการบดี ๒) อาคารการเรียนการสอน - ตึกปฏิบัติการเคมี หรือตึกเคมี ตั้งอยู่ติดกับเรือนเขียวด้านตะวันตกตรงทางเข้าประตู ๒ ด้านถนนงามวงศ์วาน เป็นตึกคอนกรีต ๒ ชั้น ชั้นบนเป็น ห้องเรียน ๒ ห้อง ชั้นล่างเป็นห้องเรียน ห้องปฏิบัติการเคมี ห้องเก็บเครื่องชั่ง และห้องอาจารย์ ถ้าจะกล่าวถึงความสำคัญของตึกหลังนี้ก็คือนอกจาก จะเป็นห้องปฏิบัติการทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ยังเป็นที่เก็บเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นของหายากราคาแพง เพราะกำลังอยู่ในภาวะสงคราม หลังนี้ได้ เปลี่ยนแปลงในการใช้ประโยชน์หลายประการ เช่น ตึกภาควิชาสัตวบาล และอื่น ๆ และยังดำรงอยู่จนทุกวันนี้ - อาคารเรือนไม้ เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น รูปตัวแอล ก่อสร้างติดกับตึกปฏิบัติการเคมีตามแนวถนนหน้าอาคารเรือนเขียวและตึกปฏิบัติการเคมี เป็นอาคาร ไม้ยางหลังคามุงกระเบื้องสีขาวขนาดชั้นบน ๔ ห้องเรียน ชั้นล่าง ๔ ห้องเรียน เหตุผลในการก่อสร้างเนื่องจากมหาวิทยาลัยได้ขยายคณะวิชา และ จำนวนนิสิตได้ทวีมากขึ้น จึงจำเป็นต้องก่อสร้างให้เพียงพอต่อความต้องการ และได้ก่อสร้างเรือนไม้ชั้นเดียวทางด้านหลังตึกปฏิบัติการเคมี มีสะพาน ข้ามคูน้ำ สำหรับอาคารหลังนี้สร้างเป็นรูปตัวทีไว้ใช้เป็นหอประชุมชั่วคราว ต่อมาอาคาร ๒ หลังนี้ ก็ได้ถูกรื้อย้ายแปรสภาพไปเป็นสิ่งก่อสร้างชนิดอื่น ต่อไปตามความจำเป็น - ตึกชีววิทยา เป็นอาคารคอนกรีตขนาดใหญ่ ๒ ชั้น ชั้นบนเป็นห้องเรียน ชั้นล่างเป็นที่ทำการสำนักงานเลขาธิการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้งชั้น ซึ่งย้ายมาจากเรือนเขียว อันประกอบด้วยแผนกงานต่าง ๆ เช่น ห้องเลขาธิการมหาวิทยาลัย แผนกสารบรรณ แผนกคลัง แผนกบัญชีพัสดุ แผนกสถิติ ต่อมาเมื่อการก่อสร้างหอประชุมเสร็จเรียบร้อยก็ให้ย้ายสำนักงานไปยังหอประชุมอีกคำรบหนึ่ง - อาคารหอสมุดกลาง เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น ขนาดเล็กตั้งอยู่ระหว่างด้านหลังตึกพืชพรรณและตึกชีววิทยา โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ได้จัดส่งคณะ ผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจเพื่อช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการศึกษา คณะผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าห้องสมุดของกรมเกษตร ซึ่งตั้งอยู่ชั้นบนของตึก พืชพรรณและห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ตั้งอยู่ที่เรือนเขียวไม่อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ทั้งระบบแบบแผนไม่เป็นไปตามหลักสากล เห็นสมควรให้รวมกันเป็นหอสมุดกลาง (Central Library) จัดระบบวางระเบียบให้เป็นแนวเดียวกัน นอกจากนี้ยังได้รับความช่วยเหลือจากสำนัก แถลงข่าวสารอเมริกัน (United States Information Service) ในด้านหนังสือตำราและวารสารต่าง ๆ อีกด้วย - ห้องสมุดไก่ (Poultry Library) ห้องสมุดไก่เป็นเรือนไม้เล็ก ๆ ชั้นเดียวหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ริมถนนสายโรงแรมไก่สโมสรข้าราชการหอ ๑ เนื่องจากห้องสมุดไก่ประกอบด้วยหนังสือ ตำราและวารสารต่าง ๆ เป็นเรื่องไก่ทั้งสิ้น ซึ่งมีทั้งภาษาต่างประเทศและภาษาไทยเป็นจำนวนมาก สำหรับ ผู้สนใจใช้บริการได้ทุกเวลาที่ห้องสมุดไก่เปิดทำการ ๓) หอพักนิสิตหรือหอนอน เดิมนั้นนิสิตมหาวิทยาลัยต้องอยู่หอพักทุกคนโดยเฉพาะนิสิตปีที่ ๑ เพราะจะต้องลงแปลง เรียกว่าวิชาเกษตรศิลป์ เมื่อเริ่มตั้งมหาวิทยาลัยมีหอพักอยู่ ๕ หลัง ก่อสร้างเรียงกันตามแนวถนนหอ ๑ จรดถนนสายเมนประตู ๑-โรงสูบ ลักษณะเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น มีมุขยื่น ออกมา ชั้นบนเป็นหอนอน ชั้นล่างเป็นที่เก็บตู้ใส่เสื้อผ้า โต๊ะทำงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกอีกตามสมควร สำหรับส้วมใช้รวมกันอยู่ด้านหลังทั้ง ๕ หอ นอกจากนั้นด้านหลังหอ ๕ หลังดังกล่าวเป็นโรงครัวประกอบอาหารและโรงอาหาร นิสิตทุกคนต้องมารับประทานอาหาร ณ โรงอาหารแห่งนี้ ทุกมื้อ ต่อมามหาวิทยาลัยมีโครงการเพิ่มคณะวิชาและรับนิสิตเข้าศึกษาเพิ่มขึ้น จึงได้ปลูกสร้างหอพักไม้ตามรูปแบบเดิมเพิ่มขึ้นอีก ๔ หลัง หันหน้า ออกถนนสายหอ ๑-ถนนเมนโรงสูบน้ำ ขณะนั้นมหาวิทยาลัยมีหอพัก ๙ หลังแล้ว คือ หอ ๑ เรียงกันไปถึงหอ ๙ ๔) อาคารที่พักอาศัยของบุคลากร - เรือนแถวข้าราชการชั้นจัตวาขนาด ๖ ครอบครัว ๒ แถว ลักณะเป็นเรือนไม้ สร้างอย่างแข็งแรง ใต้ถุนสูง ประกอบด้วยห้องขนาด ๔ x ๔ เมตร นอกชานขนาด ๒ x ๔ เมตรและห้องครัวขนาด ๒ x ๒ เมตร ห้องส้วมเฉพาะแต่ละห้องอยู่ใต้ถุนบันไดหน้าห้องขึ้นลงเฉพาะห้อง ต่อมาได้สร้าง เพิ่มเติมอีก ๒ แถว ๑๒ ห้อง (ตรงข้ามหอหญิงหอ ๑๐) สร้างแบบเดียวกัน แต่เนื้อที่แคบกว่า - บ้านพักข้าราชการชั้นตรี มีลักษณะเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง พื้นชั้นล่างเทคอนกรีตจำนวน
๕ หลัง ต่อมาได้สร้างบ้านพัก (ตรงข้ามกับหอพักหญิง หอ ๑๐) ขึ้นอีกหลายหลัง
สำหรับอาจารย์และข้าราชการที่มีชั้นสูงกว่าชั้นตรี เนื่องจากขณะนั้นมหาวิทยาลัยได้รับความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ
จาก Oregon State University เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะต้อนรับผู้เชี่ยวชาญ
Oregon ซึ่งจะมาอยู่ประจำเพื่อช่วยงานมหาวิทยาลัยจึงขอให้ กรมชลประทานเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างตึก
๒ ชั้นสำหรับผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวจำนวน ๖ หลัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในทศวรรษที่ ๒ ถึงทศวรรษที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๑๕) ได้เจริญเติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ อาคารเรียน อาคารที่ทำการ และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ทางด้านสาธารณูปโภคได้ปรากฎขึ้นมาเป็นอันมาก อาคารสถานที่ซึ่งจัดว่าเป็นอนุสรณ์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ ๑) อาคารเทพศาสตร์สถิตย์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยยังไม่มีอาคารพลศึกษาหรือโรงยิมนีเซียมเพื่อเป็นที่ฝึกซ้อมกีฬาบางประเภทของนิสิต ทั้งที่ทำการ องค์การนิสิตก็ยังไม่อยู่เป็นที่ถาวร มหาวิทยาลัยจึงทำการก่อสร้างอาคารพลศึกษาขึ้นทางด้านขวามือของถนนสายเรือนเขียว-หอ ๕ (บริเวณหลัง โรงพยาบาล) แล้วเสร็จในปี ๒๕๐๓ ๒) ตึกธรรมศักดิ์มนตรี เป็นตึก ๒ ชั้น ใช้เป็นตึกที่ทำการและอาคารเรียนของภาควิชาภาษา คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ในขณะนั้น ก่อสร้าง เสร็จในปี ๒๕๐๓ ๓) ตึกวินิจวนันดร เป็นตึกเรียน ๒ ชั้น ของคณะวนศาสตร์ ตั้งอยู่ทางด้านขวาของถนนสายประตู-โรงสูบน้ำ เยื้องกับตึกสุวรรณวาจกกสิกิจ แล้วเสร็จ ในปี ๒๕๐๕ ๔) ตึกพลเทพ เป็นตึกขนาดกลาง ๒ ชั้น ใช้เป็นตึกเรียนและที่ทำการของคณะประมง ตั้งอยู่ติดกับสถานแสดงพันธุ์ปลา ด้านถนนพหลโยธิน ก่อสร้าง แล้วเสร็จในปี ๒๕๐๕ ๕) ตึกพิทยาลงกรณ์ เป็นตึก ๒ ชั้น ตั้งอยู่ริมถนนสายประตู ๑ - ประตู ๒ หันหน้าไปทางทิศใต้ (ถนนงามวงศ์วาน) ใช้เป็นตึกเรียนและที่ทำการของ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ (คณะสหกรณ์เดิม) ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี ๒๕๐๖ ๖) ตึกสุวรรณวาจกกสิกิจ เป็นอาคาร ๒ ชั้น ใช้เป็นอาคารเรียนของภาควิชาสัตวบาล (แผนกสัตว์ปีก) คณะเกษตร ตัวอาคารตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายด้าน ตะวันตอกของถนนสายประตู ๑ - โรงสูบน้ำ เยื้องกับตึกคณะวนศาสตร์ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ๗) ตึกจักรพิชัยสงครามและโรงพยาบาลสัตว์ เนื่องจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โอนเข้ามาอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้ทำการก่อสร้างอาคารเรือนแถวที่ทำการของคณะ อาคารทั้ง ๒ หลังนี้ ตั้งอยู่ติดกับถนนพหลโยธินทางด้าน ตะวันออก โดยอาคารจักรพิชัยสงครามแล้วเสร็จในปี ๒๕๑๒ ส่วนโรงพยาบาลสัตว์สร้างแล้วเสร็จในปี ๒๕๑๓ ๘) อาคารจันทรสถิตย์ (ศูนย์เรียนรวม ๑) เนื่องจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เจริญเติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ คณะวิชาและจำนวนนิสิตได้เพิ่ม ขึ้นเป็นจำนวนมาก และโดยเหตุที่นิสิตชั้นปีที่ ๑ ทุกคณะ จะต้องเรียนรวมกันในปีการศึกษาแรก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำการก่อสร้างอาคารเรียน ที่สามารถจุนิสิตจำนวนมาก ๆ ได้ การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยในปี ๒๕๑๕ จุนิสิตได้ประมาณ ๒,๐๐๐ คน ๙) สนามกีฬาอินทรีจันทรสถิตย์ ตั้งอยู่ระหว่างถนนหน้าห้องสมุดไก่ - หอ ๑
ทางด้านตะวันออกติดถนนสายเข้าหอพักหญิงทางด้านตะวันตก ลักษณะ สนามประกอบด้วยลู่วิ่งดินอัดแน่น
ตรงกลางเป็นสนามฟุตบอล ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๐๘ ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 บริเวณหลักกิโลเมตรที่
14 มุมถนนงามวงศ์วาน บรรจบกับถนนพหลโยธิน |
||